top of page

LETTUCE GROWTH PERIOD

  สิ่งสำคัญสำหรับเมล็ดผักสลัดนั้น คือ น้ำและความอบอุ่นเป็นในขั้นตอนนี้ การงอกอาจใช้เวลาถึงห้าวัน, แต่อาจใช้เวลานานถ้าอุณหภูมิของดินต่ำกว่า 75 F อุณหภูมิดินควรจะไม่ต่ำกว่า 40 F เมื่อสองใบแรกเริ่มที่งอกออกมา พืชจะเริ่มถูกบำรุงเลี้ยงโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง และ ระบบรากยังคงเติบโต. ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา 7 ถึง 20 วันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของดิน

 ใบแรกเริ่มที่แท้จริงจะโผล่ออกมาในขั้นตอนต้นกล้าและขนาดเล็ก ใช้เวลานานตั้งแต่ 50 ถึง70 วันใบจะค่อยๆงอลง ความยาวของขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ยาวนานที่ใดก็ได้จาก 7 ถึง 14 วัน การเก็บเกี่ยวผักสลัดสามารถเริ่มต้นจากขั้นตอนนี้เป็นต้นใบ

seed10.gif
LettuceSeedlings425.jpg

สลัด กรีนโอ๊ค (Green Oak Lettuce)

green-salad-1533956.jpg

-อายุเก็บเกี่ยว 40-50 วัน

-อุณภูมิในการเพาะเมล็ด 16-20 องศา

-อุณภูมิเหมาะสมในการปลูก 18-25 องศา

-ค่า pH 6.0/ค่า EC 1.2-1.8

-ที่มา USA

สภาพอากาศที่เหมาะสม สำหรับผักกาดหอมกรีนโอ๊ค เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 10 - 24′C  การปลูกในสภาพภูมิอากาศสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูงเหนียว และมีรสขม


ดินที่เหมาะสมต่อการปลูก 

ควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็น กรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทน ต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน

 

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร    ผักกาดหอมกรีนโอ๊คเป็น พืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่งในจานอาหาร ผักกาดหอมกรีนโอ๊คมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินบี  วิตามินซีสูง อีกทั้งยังมีไฟเบอร์ ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก

สลัด บัตเตอร์เฮดเขียว (Green Butterhead)

lettuce-1764355.jpg

-อายุเก็บเกี่ยว 45-55 วัน

-อุณภูมิในการเพาะเมล็ด 18-20 องศา

-อุณภูมิที่เหมาะสมในการปลูก 10-24 องศา

-ค่า ph 6.0 / ค่า ec 1.1-1.8

-ที่มา usa

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมอุณหภูมิ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24’C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางในจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม

ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็น กรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทน ต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด เป็นพืชผักที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด รับประทานเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกต่างๆ ห่อเมี่ยงคำ เนื้อย่าง และยำต่างๆ หรือนำมตกแต่งในจานอาหาร

ผักกาดหบัตเตอร์เฮด มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรค โลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

ฟิลเล่ย์ไอซ์เบิร์ก (Frillice Iceberg)

ฟิลเล่ย์ไอซ์เบิร์ก.jpg

- อายุเก็บเกี่ยว  40 - 50 วัน 

- อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกคือ 10 - 24องศา

- ค่า pH  6 - 6.5 / ค่า EC 1.2 - 1.4

- ที่มา USA

 

ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัด ควีนไอซ์เบริกส์ (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 7 วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 1.0 - 1.2 ms/cm

2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm

3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.3 - 1.4 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)

4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 30  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)

6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 31 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง

7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 
หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ

 

ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

 

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

 

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก 4 สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ
4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร
4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอส, บัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว
4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

เรดโอ๊ค(Red Oak Lattuce)

เรดโอ๊ค.jpg

-อายุเก็บเกี่ยว 40 - 50 วัน

-อุณภูมิในการเพาะเมล็ด 16 - 20 องศา

-อุณภูมิเหมาะสมในการปลูก 18 - 25 องศา

-ค่า pH 6.0/ค่า EC 1.1 - 1.6

-ที่มา USA

ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับสลัดเรดโอ๊ค (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 7 วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 1.0 - 1.2 ms/cm

2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm

3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.3 - 1.4 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)

4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 30  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)

6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 31 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง

7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 
หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ

 

ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

 

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

 

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก 4 สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ
4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร
4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอส, บัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว
4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

สลัด กรีนสลัดโบลว์ (Green Salad Bowl Lettuce)

mu.jpg

-อายุเก็บเกี่ยว 40-50 วัน 
-อุณภูมิในการเพาะเมล็ด 16-20 องศา
-อุณภูมิในการเพาะปลูก-18-25 องศา
-ค่าph6.0/ec1.2-1.8
-ที่มา usa

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

ช่วยบำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ บำรุงผิวพรรณ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหาร ขจัดอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ป้องกันโรคหวัด

วิธีการปลูกผักในถุงเพาะชำ

การปลูกผักสลัดในถุงเพาะชำ (เรดโอ๊ค,กรีนโอ๊ค,เรดคอรอล,ฟิลเล่ท์,ร็อคเก็ต,คอส, บัตเตอร์ เฮด ผักกาดหอม,ผักกาดหอมเจนเนอรอลและผักอายุสั้นอื่นๆ)

1 การปรุงดิน ใช้ดิน ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1:1 รดน้ำพอชุ่มชื้นอย่าให้แฉะคลุกให้เข้ากันบ่มไว้ไม่ต่ำกว่า 7 วันกองทิ้งไว้ในร่มหรือใส่ถุงปุ๋ยมัดปากถุงเก็บไว้

2 นำถุงเพาะชำขนาด 6 นิ้วใส่ดินให้เต็มแล้วหยอดเมล็ดผักลงไป 2 เมล็ดโรยดินละเอียดกลบลง ไปหนา 1-2 ซม.แล้วค่อยๆ รดน้ำอย่าให้ดินกระจายวางไว้ที่ที่ร่มรำไร (ระวังมดมาคาบเมล็ดผัก)

3 ประมาณ 2-3 วันเมล็ดผักจะงอกออกมาให้เห็น เมื่อครบ 7 วันให้นำถุงกล้าผักออกวางที่มีแดด ผักสลัดชอบแดดตลอดวัน ถ้าเมล็ดงอก 2 เมล็ดให้ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงทิ้ง 1 ต้น

4 รดน้ำวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น ถ้าตอนเที่ยง-บ่ายแดดจัดกล้าผักเหี่ยวเฉาอาจจะรดน้ำเพิ่ม

5 เมื่อผักอายุครบ 40-45 วันควรรีบตัดมาบริโภคอย่าปล่อยให้แก่ผักจะแข็งกระด้างและมีรสขม

bottom of page